ย้อนรอยอารยะธรรมชาวมอญ
ชุมชนชาวมอญแห่งเดียวในภาคเหนือตอนบนที่อยู่ในเขตจังหวัดลำพูน คือบ้านหนองดู่-บ้านบ่อคาว หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ความจริงแล้ว มอญที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ณ เวลานี้มีอยู่หลายแห่งหลายที่ ถ้าจะย้อนประวัติศาสตร์แล้ว ชาติภูมิของชนชาวมอญนั้นอยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ชนชาติมอญนั้นเป็นชนชาติที่รักความสงบและสร้างสมอารยธรรมความเจริญต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งด้านวัฒนธรรม ศาสนา และการค้า ชนชาติมอญมิได้เตรียมตัวเพื่อการสงครามเลย อาณาจักรมอญจึงพ่ายแพ้และตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าในปี พ.ศ.๑๖๐๐ จะเห็นได้ว่าอาณาจักรมอญในพม่ามีอายุยืนยาวมากกว่าในประเทศไทย เมื่อพม่ามีชัยชนะเหนือชนชนชาติชาวมอญ
ที่มาของคำว่ามอญและรามัญ ชุมชนชาวมอญแห่งเดียวในภาคเหนือตอนบนที่อยู่ในเขตจังหวัดลำพูน คือบ้านหนองดู่-บ้านบ่อคาว หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ความจริงแล้ว มอญที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ณ เวลานี้มีอยู่หลายแห่งหลายที่ ถ้าจะย้อนประวัติศาสตร์แล้ว ชาติภูมิของชนชาวมอญนั้นอยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ชนชาติมอญนั้นเป็นชนชาติที่รักความสงบและสร้างสมอารยธรรมความเจริญต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งด้านวัฒนธรรม ศาสนา และการค้า ชนชาติมอญมิได้เตรียมตัวเพื่อการสงครามเลย อาณาจักรมอญจึงพ่ายแพ้และตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าในปี พ.ศ.๑๖๐๐ จะเห็นได้ว่าอาณาจักรมอญในพม่ามีอายุยืนยาวมากกว่าในประเทศไทย เมื่อพม่ามีชัยชนะเหนือชนชนชาติชาวมอญ
นักภูมิศาสตร์อาหรับบางท่านเรียกมอญว่า รามัญประเทศ (Ramannadesa) ซึ่งหมายถึง "ประเทศมอญ" คำนี้เพี้ยนมาจากคำศัพท์โบราณของ"มอญ" คือ Rmen (รามัญ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกตัวเองของ"มอญ" แต่พม่าเรียก"มอญ"ว่า ตะเลง (Talaings) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Talingana อันเป็นแคว้นหนึ่ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดในมหาวังสะของสิงหล ในสมัยพระเจ้าจันสิตตาแห่ง พุกาม พบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนออกเสียงว่า รมีง ซึ่งในจารึกนั้น ก็พบคำเรียกพม่าอ่านว่า มิรมา อีกด้วย ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนอ่านว่า รมัน คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ จะเรียกว่า มัน หรือ มูน ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ ในภาษาไทย