เจดีย์โบราณวัดเกาะกลาง
แรกเริ่มเดิมทีเป็นหมู่บ้านร้างและภายในหมู่บ้านแห่งนี้มีวัดร้างวัด หนึ่งคือวัดเกาะกลาง เป็นวัดเก่าแก่มากมีหนองน้ำล้อมรอบบริเวณวัด สังเกตจากสิ่งปลูกสร้างและสภาพวัดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นหมู่บ้านและวัดที่ เจริญมาก่อน เพราะมีลักษณะการปลูกสร้างอย่างวิจิตรพิสดาร จากตำนานการสร้างวัดเกาะกลาง ซึ่งก็คือหมู่บ้านหนองดู่ในสมัยนั้นได้กล่าวไว้ว่า “วัดนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๑๗๖ โดยตระกูลของท่านเศรษฐีอินตา พระบิดาของพระนางจามเทวี” ซึ่งตามประวัติองค์เจ้าแม่จามเทวี มีเชื้อชาติมอญบ้านหนองดู่โดยกำเนิด จึงสันนิษฐานได้ว่า ในสมัยก่อนคงจะมีชาวบ้านมอญอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านหนองดู่-บ้านบ่อ คาวแห่งนี้ และกาลเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามวัฏจักร จึงได้รกร้างไประยะหนึ่ง
ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๒๕๖ ได้มีชาวมอญอพยพมาจากกรุงเมาะตะมะและหง สาวดี (ประเทศพม่าในปัจจุบัน) ประมาณ ๖-๗ ครอบครัว ได้มาทำไร่ทำสวนและทำขนมจีนขายเป็นอาชีพ นอกจากนี้ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายและเป็นหัวหน้าครอบครัว ยังมีอาชีพเสริมคือรับจ้างทำแพและล่องแพ ขนส่งสินค้าตามลำน้ำปิงไปยังจังหวัดตาก-นครสวรรค์ จนเป็นที่เลื่องลือกันว่า ชาวบ้านหนองดู่เป็นผู้ชำนาญในการล่องแพ ถ้าพ่อค้าคนใดจะขนสินค้าไปทางน้ำก็มักจะว่าจ้างชาวบ้านหนองดู่เป็นผู้ล่องแพ
เพื่อนำสินค้าไปส่งให้ (ส่วนมากจะเป็นพ่อค้าจากจังหวัดเชียงใหม่)
จากตำนานและคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านสืบๆ ต่อกันมาพอประมาณและ
พอได้เค้าว่า ราวปี พ.ศ. ๒๓๒๑ มีพระเดินธุดงค์มาจากเมืองเมาะตะมะรูปหนึ่งชื่อ พระรั่ว มาครองวัดในหมู่บ้านหนองดู่ ตามหลักฐานที่ปรากฏ สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงบ้านหนองดู่ ไว้ในหนังสือล่องน้ำปิงว่า บ้านหนองดู่เป็นหมู่บ้านมอญ มีวัดโบราณ ๒ วัด คือวัดดอน (เกาะกลาง) เรียกชื่อวัดเดิม มีพระเจดีย์ก่ออิฐสี่มุข พระเจดีย์ทรงกลมลายปั้นงานทำนองจะเป็นวัดหลวงมาก่อน และอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เป็นวัดเก่าแก่แต่ปฏิสังขรณ์ใหม่ ก็คือวัดหนองดู่ขณะนี้ แสดงว่าวัดหนองดู่เป็นวัดเก่าสร้างมานาน การบูรณปฏิสังขรณ์วัดก็เป็นไปตามยุคสมัยของพระปกครองที่ได้รับการอุปถัมภ์
จากเจ้านายผู้ใหญ่คือยุคของท่านครูบาญาณกิตติ (กิ) อยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๔